Accessibility Tools

กองสารนิเทศและประชาสัมพันธ์
Information and Public Relations Division
image

กองสารนิเทศและประชาสัมพันธ์

English from Court Podcast episode ep.8 “คำแนะนำของประธานศาลฎีกาว่าด้วยการใช้มาตรการกำกับดูแลในระหว่างปล่อยชั่วคราว พ.ศ. 2564”image

 ช่องทางอื่นๆ

Soundcloud >> https://soundcloud.com/cojpodcast
Spotify >> https://open.spotify.com/show/043Kat8AR01BDbVRkfg2MK?si=bd2fc097ff8c4d6c
Google Podcast >> https://podcasts.google.com/feed/aHR0cHM6Ly9mZWVkcy5zb3VuZGNsb3VkLmNvbS91c2Vycy9zb3VuZGNsb3VkOnVzZXJzOjgzOTA5NzU3Ny9zb3VuZHMucnNz
Apple Podcast >> https://podcasts.apple.com/us/podcast/coj-podcast/id1522616583

              

สวัสดีค่ะท่านผู้ฟังทุกท่าน ขอต้อนรับเข้าสู่รายการ English from Court Podcast episode ที่ 8
ตอนที่แล้วเราได้นำเสนอภาษาอังกฤษที่น่าสนใจ จาก “ประกาศสำนักงานศาลยุติธรรม เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการยื่น ส่ง และรับคำคู่ความและเอกสารทางระบบรับส่งอิเล็กทรอนิกส์” ซึ่งเป็นหนึ่งในนวัตกรรมที่ศาลยุติธรรมปรับปรุงและพัฒนามาโดยตลอด และเป็นนวัตกรรมที่มีประโยชน์อย่างมากในช่วงสถานการณ์ที่มีการระบาดของ
โคโรนาไวรัสในปัจจุบัน ช่วยลดการเดินทางมาศาลของประชาชน ลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ ลดภาระและค่าใช้จ่ายในการเดินทางค่ะ

 

          ตอนที่ 8 นี้ ดิฉันขอเสนอคำศัพท์และเกร็ดความรู้ภาษาอังกฤษจาก “คำแนะนำของประธานศาลฎีกาว่าด้วยการใช้มาตรการกำกับดูแลในระหว่างปล่อยชั่วคราว พ.ศ. 2564” หรือ Recommendation of the President of the Supreme Court on Supervision Measure During the Provisional Release B.E.2564 (2021)

          จากชื่อของคำแนะนำดังกล่าวก็มีคำศัพท์ที่น่าสนใจหลายคำเลยค่ะ เช่น

          supervision measure แปลว่า มาตรการกำกับดูแล คำคู่นี้แยกได้เป็น

          supervision แปลว่า การกำกับดูแล และ measure แปลว่า มาตรการ คำว่า measure นี้ ก็เป็นคำที่เรามักได้ยินบ่อยๆ ในช่วงนี้ที่มีการประกาศมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด – 19 ด้วยค่ะ

          ต่อมาคือคำว่า provisional release แปลว่า การปล่อยตัวชั่วคราว คำคู่นี้สามารถแยกได้เป็น

          provisional แปลว่า ชั่วคราว และคำว่า release แปลว่า การปล่อย ในที่นี้คือการปล่อยตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยที่ถูกคุมขัง และ release ก็เป็นอีกคำที่เราได้ยินบ่อย เช่นคำว่า new released single หรือเพลงที่เปิดตัวใหม่ค่ะ  

 

          คำแนะนำนี้สืบเนื่องมาจาก “พระราชบัญญัติมาตรการกำกับและติดตามจับกุมผู้หลบหนีการปล่อยชั่วคราวโดยศาล พ.ศ. ๒๕๖๐” หรือ the Act on Measures for Supervising and Arresting Persons in Breach of Provisional Release B.E. 2560 (2017)

          คำว่า Act นี้ เป็นคำนาม แปลว่า พระราชบัญญัติ มักใช้คู่กับคำว่า on เมื่อนำหน้าชื่อพระราชบัญญัติเสมอ

          breach แปลว่า ฝ่าฝืนกฎหมาย ซึ่ง person(s) in breach แปลว่า ผู้ฝ่าฝืนกฎหมาย   

          คำที่เป็นใจความสำคัญของมาตรการกำกับดูแลในระหว่างปล่อยตัวชั่วคราว คือ

          Public safety หรือ ความปลอดภัยของผู้คนในสังคม

          และคำว่า gap แปลว่า ความเหลื่อมล้ำ

          หากต้องการพูดว่า ลดความเหลื่อมล้ำ ภาษาอังกฤษใช้คำว่า to bridge the gap ค่ะ

          เหตุที่สองคำนี้เป็นคำสำคัญเนื่องจากวัตถุประสงค์ของ พรบ. นี้ คือ เพื่อเสริมสร้างความมั่นใจในความปลอดภัยของผู้คนในสังคมจากภยันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการปล่อยตัวชั่วคราว และช่วยลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงความยุติธรรม โดยมาตรการดังกล่าวช่วยให้ผู้ต้องหาหรือจำเลยที่มีรายได้น้อยหรือยากจนที่ไม่สามารถหาหลักประกันมาวางได้ ให้สามารถได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวเช่นเดียวกันกับผู้ต้องหาหรือจำเลยอื่นๆ และคำศัพท์ที่น่าสนใจอีกคำหนึ่งคือ

          bail security หรือ หลักประกันในการขอปล่อยตัวชั่วคราว หรือการประกันตัวค่ะ

 

          คำแนะนำของประธานศาลฎีกาว่าด้วยการใช้มาตรการกำกับดูแลฯ นี้ จัดทำขึ้นโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 แห่งพระธรรมนูญศาลยุติธรรม หรือภาษาอังกฤษเรียกว่า the Law for the Organization of Court of Justice

          โดยท่านประธานศาลฎีกาได้ให้คำแนะนำดังนี้ค่ะ

          คำแนะนำข้อที่ 1 เป็นเรื่องการกำกับดูแล เน้นเรื่องการสอดส่องดูแลให้ผู้ถูกปล่อยตัวชั่วคราวปฏิบัติตามคำสั่งหรือเงื่อนไขที่ศาลกำหนด ซึ่งรวมถึงการรับรายงานตัวและการให้คำปรึกษาแก่บุคคลดังกล่าวด้วย

          การสอดส่องดูแล ภาษาอังกฤษคือคำว่า surveillance

          การรับรายงานตัว คือ the acknowledgment of the appearance หรือใช้ว่า acknowledge self-report

          การให้คำปรึกษา คือ to give / provide the counselling

         

          คำแนะนำข้อที่ 2 กล่าวว่า ในกรณีปล่อยชั่วคราวโดยไม่มีประกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๑๑ หากศาลเห็นว่า มีความจำเป็นเพื่อคุ้มครองสังคมจะมีคำสั่งกำหนดเงื่อนไขหรือสั่งใช้มาตรการกำกับดูแลกับผู้ถูกปล่อยชั่วคราวนั้นก็ได้

          คำภาษาอังกฤษที่มักใช้ในการทำให้สมความประสงค์คือคำว่า to grant เช่นในกรณีนี้คือศาลให้ปล่อยชั่วคราวโดยไม่มีหลักประกัน ภาษาอังกฤษพูดว่า

          In case where the provisional release has been granted without bail…

 

          คำแนะนำข้อที่ 3 การปล่อยชั่วคราวในกรณีอื่นนอกจากข้อ ๒ ศาลพึงคำนึงถึงการใช้วิธีกำหนดเงื่อนไข ให้ผู้ถูกปล่อยชั่วคราวปฏิบัติและมาตรการกำกับดูแลเป็นเบื้องต้น

          ข้อความ “ในกรณีอื่นนอกจาก...” สามารถพูดเป็นภาษาอังกฤษได้ว่า “in cases other than…”

          คำว่า การกำหนดเงื่อนไข ภาษาอังกฤษใช้คำว่า the prescription of the conditions โดย

          prescription แปลว่า การกำหนด หรือ to prescribe เป็นคำกริยาแปลว่า กำหนด

          condition แปลว่า เงื่อนไข

 

          คำแนะนำข้อที่ 4 กล่าวถึงเงื่อนไขต่างๆ ที่อาจกำหนดให้ผู้ถูกปล่อยชั่วคราวปฏิบัติในระหว่างปล่อยชั่วคราว มีด้วยกัน 14 ประการ เรามาค่อยๆ ดูไปด้วยกัน

          1. ให้มาศาลตามกำหนดนัด        to appear before the court as appointed

          2. ห้ามยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน   to refrain from tampering with evidence

          จากข้อนี้ เราพบคำที่น่าสนใจดังนี้

          to refrain from แปลว่า ละเว้น งด  

          to tamper with แปลว่า ยุ่ง

          3. ห้ามเดินทางออกนอกประเทศหรือออกนอกพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง not to travel out of the country or any area

          4. ห้ามพบหรือเข้าใกล้ผู้เสียหาย not to meet or be approximate with an injured person

          ในข้อนี้มีคำว่า approximate โดยทั่วไปเรามักพบคำว่า approximate ในความหมายว่า ใกล้เคียงหรือโดยประมาณ แต่ในข้อความนี้ to be approximate with หมายถึง การเข้าใกล้บุคคล

          ผู้เสียหาย คือคำว่า injured person

          5. ห้ามออกจากที่อยู่อาศัย not to leave the residence

          6. การเปลี่ยนหรือย้ายที่อยู่อาศัยต้องแจ้งให้ศาลทราบ to notify the court when changing of address or relocate

          7. ห้ามเข้าไปใกล้สถานที่บางแห่ง not to enter some area

          8. ห้ามคบหาสมาคมกับบุคคลบางประเภท to refrain from associating with some people

          คำว่า คบหาสมาคม ภาษาอังกฤษคือคำว่า to associate

          9. ให้รายงานตัวต่อผู้กำกับดูแลหรือบุคคลที่ศาลกำหนด to report himself/herself to a supervisor or the person as assigned by the court

          เบื้องต้นเราได้เห็นคำว่ากำกับดูแล หรือ supervise ไปแล้ว ในข้อนี้เราพบคำว่า

          supervisor แปลว่า ผู้กำกับดูแล

          และข้อความ “บุคคลที่ศาลกำหนด” ภาษาอังกฤษสามารถพูดได้ว่า the person as assigned by the court โดย assign หมายถึง มอบหมาย กำหนด

          10. ให้เข้ารับคำปรึกษาหรือการบำบัดรักษาความบกพร่องทางร่างกายหรือจิตใจ to attend the counselling session or to undergo the treatment for physical or mental defect;

          ข้อนี้สามารถแยกย่อยได้ดังนี้

          ให้เข้ารับคำปรึกษา ภาษาอังกฤษพูดว่า to attend the counselling session

          อีกประโยคหนึ่งคือ

          เข้ารับการบำบัดรักษาความบกพร่องทางร่างกายหรือจิตใจ คือ to undergo the treatment for physical or mental defect

          จากประโยคนี้ก็มีคำศัพท์ที่น่าสนใจคือ

          treatment แปลว่า การบำบัดรักษา

          defect แปลว่า ความบกพร่อง

          physical defect คือ ความบกพร่องทางร่างการ

          mental defect คือ ความบกพร่องทางจิดใจ

          11. ให้เข้ารับการตรวจร่างกายเพื่อหาสารเสพติด to undergo the toxicology test for narcotic substance

          มีคำที่น่าสนใจคือ

          toxicology test หมายถึง การทดสอบทางพิษวิทยา

          narcotic substance หมายถึง สารเสพติด

          จากข้อ 10 และ 11 เราเห็นข้อความว่า “ให้เข้ารับ...” ซึ่งในที่นี้มีการใช้คำภาษาอังกฤษ 2 คำว่า คือ to attend และ to undergo ซึ่งจากตัวอย่างที่ยกไปแล้วเราจะเห็นว่า to attend จะใช้คู่กับคำว่า session และ to undergo ใช้คู่กับคำว่า treatment และคำว่า test

 

          12. ห้ามทำกิจกรรมหรือประกอบอาชีพบางอย่าง to be prohibited from doing some activities or exercising some occupations

          to be prohibited from หมายถึง ห้ามกระทำ

          to exercise occupation หมายถึง ประกอบอาชีพ

          13. ห้ามพกพาอาวุธปืน to be prohibited from carrying a gun

          14. ห้ามกระทำการตามที่ถูกกล่าวหาหรือฟ้องร้อง to be prohibited from committing any action as he/she is accused or sued

          คำว่า to commit an action หมายถึง กระทำการ

          be accused/sued หมายถึง ถูกฟ้อง

         

          ที่กล่าวมานี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของ “คำแนะนำของประธานศาลฎีกาว่าด้วยการใช้มาตรการกำกับดูแลในระหว่างปล่อยชั่วคราว พ.ศ. 2564” เราจะมาเรียนรู้ภาษาอังกฤษที่น่าสนใจจากส่วนที่เหลือกันต่อในรายการ English from Court ตอนต่อไปค่ะ

 

                 

 

English from Court Podcast episode ep.8 “คำแนะนำของประธานศาลฎีกาว่าด้วยการใช้มาตรการกำกับดูแลในระหว่างปล่อยชั่วคราว พ.ศ. 2564”

The Host : กองสารนิเทศและประชาสัมพันธ์ สำนักงานศาลยุติธรรม

Guest Host :  จริมจิต  พันธ์ทวี ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นประจำสำนักประธานศาลฎีกา

ที่ปรึกษา :  สรวิศ  ลิมปรังษี, สุริยัณห์ หงษ์วิไล, จีรวรรณ  เจริญยศ
 
Show Creator : นันทวัลย์  นุชนนทรี, ศณิฏา  จารุภุมมิก
Episode Producer & Editor  : ศณิฏา  จารุภุมมิก, ผุสชา  เรืองกูล
Sound Designer & Engineer : กฤตภาส  ทองแจ้ง, กิติชัย โล่สุวรรณ
Coordinator & Admin : สุภาวัชร์  ดลมินทร์, โสรัตน์  ไวศยดำรง
Art Director  : สุภาวัชร์  ดลมินทร์, ปันจารีณ์ สุวรรณโภชน์ ทศพร  ศิลาบำเพ็ญ
Webmaster  : ผุสชา  เรืองกูล, วชิระ  โรจน์สุธีวัฒน์


image รูปภาพ
image

image เอกสารแนบ