Accessibility Tools

กองสารนิเทศและประชาสัมพันธ์
Information and Public Relations Division
image

กองสารนิเทศและประชาสัมพันธ์

Judge talk, just tell Ep.1 การไกล่เกลี่ยแบบ new normalimage

The Host : กองสารนิเทศและประชาสัมพันธ์ สำนักงานศาลยุติธรรม

Guest Host : เพชรรัตน์  สพรั่งผล

ที่ปรึกษา :  สุริยัณห์  หงษ์วิไล,วิภาวรรณ  หลีศิริ

Show Creator : นันทวัลย์  นุชนนทรี, ศณิฏา  จารุภุมมิก

Episode Producer & Editor  : ศณิฏา  จารุภุมมิก

Sound Designer & Engineer : กฤตภาส  ทองแจ้ง, กิติชัย โล่ห์สุวรรณ, สุภาวัชร์  ดลมินทร์

Coordinator & Admin : สุภาวัชร์  ดลมินทร์

Art Director  : ทศพร  ศิลาบำเพ็ญ

Webmaster  : ชนัญชิดา อมรวรนิตย์, วชิระ  โรจน์สุธีวัฒน์

Judge talk, just tell

เรื่องง่าย ๆ ที่อยากให้ทุกคนรู้

Ep.1 การไกล่เกลี่ยแบบ New Normal

สวัสดีค่ะ ขอต้อนรับสู่ COJ PODCAST ดิฉันนางสาวเพชรรัตน์  สพรั่งผล ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นประจำสำนักประธานศาลฎีกา วันนี้เรื่องที่เราจะนำมาพูดคุยกันเป็นเรื่องที่มีประโยชน์แน่นอน ห้ามพลาดกันนะคะ

          ลองจินตนาการดูว่า ในสถานการณ์ที่คุณไม่สามารถจะพูดคุยหรือระบายเรื่องกังวลใจให้ใครฟังได้ เพราะอึดอัดใจ คิดว่าเรื่องนั้นไม่มีทางออก  หรือเอาง่ายๆ ในช่วงสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด 19  ทำให้หลายเหตุการณ์ต้องเลื่อนหรือถูกยกเลิกไป การพบเจอกันในรูปแบบปกติ เริ่มเป็นเรื่องยาก  ที่สำคัญ เศรษฐกิจทั้งภาครัฐและเอกชนต้องหยุดชะงัก ทำให้ได้รับผลกระทบ ไม่อาจปฏิเสธได้ว่าสิ่งเหล่านี้ก่อให้เกิดเกิดปัญหาหนี้สินอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้  ท้ายที่สุด อาจนำมาสู่การถูกฟ้องร้องเป็นคดีความ  ซึ่งจากสถิติที่ผ่านมา คดีที่ขึ้นสู่ส่วนใหญ่ ก็หนีไม่พ้น คดีผู้บริโภคประเภทต่างๆ เช่น คดีกู้ยืม คดีเช่าซื้อ และคดีบัตรเครดิต เป็นต้น บางคนอาจคิดสถานการณ์แบบนี้ ควรนิ่งๆไว้ เพื่อรอให้สถานการณ์คลี่คลายจะปลอดภัยที่สุด  อย่าลืมนะคะว่าบางเรื่องการรอไม่ได้ช่วยอะไร กลับอาจทำให้เป็นปัญหาบานปลาย

แค่คิดก็ปวดหัวแล้ว เพราะลำพังเป็นหนี้ก็เครียด รายได้ก็ไม่มี ความมั่นคงก็ดูหล่นหาย 

COJ PODCAST จึงขอนำเสนอ 1 วิธีแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ง่ายๆ เพียงการใช้นวัตกรรมที่สำนักงานศาลยุติธรรมได้คิดค้น คือ การไกล่เกลี่ยแบบ New Normal หรือการไกล่เกลี่ยออนไลน์ สอดคล้องกับนโยบายของประธานศาลฎีกา และแผนยุทธศาสตร์ปี ๒๕๖๑ ถึง ๒๕๖๔ ในการขับเคลื่อนศาลยุติธรรมสู่ D-court ๒๐๒๐

          แล้วการไกล่เกลี่ยออนไลน์ คืออะไร   คำตอบง่ายๆว่า การไกล่เกลี่ยออนไลน์ก็เหมือนกับการไกล่เกลี่ยทั่วไป แต่เพียงมีการนำเอาเทคโนโลยีเข้ามาใช้เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่คู่ความ ให้เข้าถึงศาลอย่างง่าย  โดยการไกล่เกลี่ย คือ ทางเลือกที่คู่ความเลือกใช้เพื่อระงับข้อพิพาทที่เกิดขึ้น หรือจะเกิดในอนาคต โดยจะมีคนกลางที่เรียกว่า ผู้ไกล่เกลี่ยทำการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทซึ่งเป็นคดีที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลตั้งแต่ศาลรับฟ้องจนถึงก่อนมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้กับคู่ความ เป็นการช่วยให้คู่ความทั้งสองฝ่ายสามารถบรรลุข้อตกลงร่วมกัน แต่ผู้ไกล่เกลี่ยไม่มีอำนาจในการกำหนดข้อตกลงให้แก่คู่ความแต่อย่างใด โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้เกิดการประนีประนอมยอมความให้จากความสมัครใจของคู่ความทั้งสองฝ่ายเป็นสำคัญ ดังนั้น ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอาจขอยกเลิกการไกล่เกลี่ยเสียเมื่อใดก็ได้ ตอนนี้การไกล่เกลี่ยสามารถทำได้ทั้งก่อนถูกฟ้องดำเนินคดีหรือหลังฟ้องเป็นคดีอยู่ในศาลก็ได้ ปกติเวลาที่มีการฟ้องร้องคดีกัน  หากจะคู่ความต้องเข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ย ก็ต้องเดินทางมาที่ศาล ที่ยากกว่าไม่ใช่พูดคุยกันนะคะ แต่บางพื้นที่หาที่จอดยากมาก  หรือบางครั้ง ตัวเราพร้อมแล้ว แต่อีกฝ่ายค่ะ  ไม่พร้อม เพราะอยู่อีกที่ไม่สะดวกเดินทางมาศาลต่อไปใช้ข้ออ้างนี้ไม่ได้แล้วนะคะ

จึงเป็นที่มาว่าทำไมการไกล่เกลี่ยออนไลน์ถึงได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ก็เนื่องจากคู่ความที่ไม่สามารถเดินทางมาศาลได้  แต่พอนำกระบวนการดังกล่าวเข้ามาใช้  แค่ปลายนิ้ว ก็สามารถติดต่อพูดคุยสื่อสารกันได้  แม้อยู่คนละที่คนละทาง  เวลาใดก็ได้ แต่ต้องเป็นเวลาที่ทั้งสองฝ่ายสะดวกด้วยนะคะ 

ซึ่งในปัจจุบัน มีศาลทั้งหมด 183 ศาลที่นำการไกล่เกลี่ยออนไลน์เข้ามาใช้เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่คู่ความ และเพื่อบริหารจัดการคดี ให้เสร็จอย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว ไม่ก่อให้เกิดภาระแก่คู่ความ   มีคดีที่ดำเนินการไกล่เกลี่ยออนไลน์ทั้งสิ้นรวม 7,521 คดี สำเร็จ 3,966 คดี

วิธีการก็ง่ายๆ เพียงแค่คุณมี smartphone หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถสื่อสารระหว่างกันได้  จากนั้น วิธีที่จะเข้าสู่การไกล่เกลี่ยออนไลน์ ก็คือ 1. คุณอาจจะติดต่อศูนย์ไกล่เกลี่ยและประนีประนอมข้อพิพาทในพื้นที่ที่มีพักอยู่ ๒. แสกน QR C0de แจ้งความประสงค์ที่จะไกล่เกลี่ยไปยังเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ไกล่เกลี่ย  จากนั้นเจ้าหน้าที่จะติดต่อกลับมาเพื่อขอวันนัด และจะทำการประสานไปยังคู่ความอีกฝ่าย  เมื่อได้วันนัดชองคู่ความ  เจ้าหน้าที่จะทำการวิเคราะห์ว่าควรจะใช้แอพพลิเคชั่นอะไรเพื่อให้เหมาะสมกับลักษณะคดี  ก่อนถึงวันนัดจะมีการซักซ้อมหรือ test ทดลองระบบเพี่อให้เกิดความมั่นใจในการใช้งาน   พอวันนัดมาถึง ผู้ไกล่เกลี่ยที่มีความรู้และประสบการณ์ตามประเภทคดี จะเข้าร่วมพูดคุยกับคู่ความ  ไม่ว่าคู่พิพาทจะตกลงกันได้หรือไม่ การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทย่อมสิ้นสุดลง ข้อเท็จจริง หรือพยานหลักฐานใด ๆ ที่เกิดขึ้นในชั้นไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ไม่สามารถนำไปใช้อ้างอิงในศาลได้ เว้นแต่คู่พิพาทจะตกลงกันเป็นอย่างอื่น
2. การดำเนินกระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทเป็นความลับ ทั้งผู้ไกล่เกลี่ยและคู่พิพาทต้องเก็บรักษา ความลับ ไม่เปิดเผยให้บุคคลภายนอกได้รู้ถึงข้อมูลหรือเงื่อนไขในการเจรจา ระหว่างกัน เว้นแต่จะตกลงกันเป็นอย่างอื่น

สำคัญมาก มีค่าใช้จ่ายในการไกล่เกลี่ยไหม

การไกล่เกลี่ยข้อพิพาททั้งในศาลและนอกศาล คู่พิพาทไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายหรือค่าธรรมเนียมศาลใด ๆ ทั้งสิ้นรวมทั้งไม่จำเป็นต้องมีทนายความก็ได้ เพราะอำนาจตัดสินใจอยู่ที่คู่พิพาทโดยตรงอยู่แล้ว

ทำไมถึงมีการไกล่เกลี่ย

การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทก่อให้เกิดประโยชน์ทั้งกับคู่พิพาท และเป็นการเสริมสร้างประสิทธิภาพในการ พิจารณาคดีของศาล ดังนี้

1. ลดปริมาณคดีที่จะเข้าสู่การพิจารณาของศาล

2. แบ่งเบาภาระงานพิจารณาคดีของผู้พิพากษา

3. ช่วยสนับสนุนการพิจารณาคดีแบบต่อเนื่อง

4. ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย

5. ทำให้ข้อพิพาทได้ข้อยุติ ลดปัญหาของการอุทธรณ์

6. ข้อยุติที่ได้มีความเหมาะสมกับคู่พิพาท

7. กระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทเป็นความลับ ทำให้รักษาความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างคู่พิพาทไว้ได้

8. ข้อตกลงระหว่างคู่พิพาทสามารถบังคับได้

9. คู่พิพาทสามารถใช้การไกล่เกลี่ยข้อพิพาททั้งหมด หรือประเด็นใดประเด็นหนึ่งในคดีก็ได้

10. คู่พิพาทยังคงมีสิทธิในการดำเนินคดีในศาลต่อไป

หากท่านมีข้อสงสัยในการไกล่เกลี่ยออนไลน์ สามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ Facebook: Mediation from Home หรือ Official Line: Online Mediation หรือสำนักส่งเสริมงานตุลาการ เบอร์ 02-512-8499

เราอยากเห็นรอยยิ้มของท่านอีกครั้ง  ให้ศาลยุติธรรมเป็นคนดูแลนะคะ  แล้วพบกันใหม่ในตอนต่อไปเร็วๆนี้ Stay tuned for something cool ค่ะ


image รูปภาพ
image