Accessibility Tools

กองสารนิเทศและประชาสัมพันธ์
Information and Public Relations Division
image

กองสารนิเทศและประชาสัมพันธ์

Leader talk ep.1 การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน ความยุติธรรมต้องไม่มีวันหยุดimage

 

 


The Host : กองสารนิเทศและประชาสัมพันธ์ สำนักงานศาลยุติธรรม

Guest Host : ไสลเกษ วัฒนพันธุ์

ที่ปรึกษา : สุริยัณห์  หงษ์วิไล            

Show Creator : นันทวัลย์  นุชนนทรี, ศณิฏา  จารุภุมมิก
Episode Producer & Editor  : ศณิฏา  จารุภุมมิก

Sound Designer & Engineer : กฤตภาส  ทองแจ้ง, กิติชัย โล่ห์สุวรรณ, สุภาวัชร์  ดลมินทร์

Coordinator & Admin : สุภาวัชร์  ดลมินทร์

Art Director  : ทศพร  ศิลาบำเพ็ญ
Webmaster  : วชิระ  โรจน์สุธีวัฒน์

 

 


การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน : ความยุติธรรมต้องไม่มีวันหยุด

๑.ความเป็นมาเกี่ยวกับนโยบายการยกระดับการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของผู้ต้องหาหรือจำเลย

  1. (เดิม)นโยบายของประธานศาลฎีกาเกิดจากประธานศาลฎีกาและคณะทำงาน >>รับฟังความคิดเห็นของทุกฝ่าย ไม่เฉพาะแต่ข้าราชการศาลยุติธรรม>> มิติใหม่ >>เกิดการยอมรับและสามารถปฏิบัติได้จริง>>การยกระดับการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของผู้ต้องหาหรือจำเลย เป็นนโยบาย ข้อที่ ๑ ให้ความสำคัญเป็นอันดับแรก
  • กำหนดนโยบายศาลยุติธรรมจากการรับฟังความเห็นผู้มีส่วนได้เสียที่มาของนโยบายตั้งแต่เข้ามารับตำแหน่งประธานศาลฎีกาใหม่ ได้ใช้แนวคิดที่ได้รับมาจากการไปอบรมหลักสูตรด้านการบริหารต่างๆ คือ การกำหนดนโยบายใดๆก็ตามต้องมาจากการมีส่วนร่วมของผู้ที่จะได้รับผลกระทบจากนโยบายนั้น ดังนั้น เมื่อเข้ารับตำแหน่ง จึงให้คณะทำงานส่งหนังสือไปยังกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียจากการทำงานของศาลยุติธรรม คือ ตำรวจ อัยการ ศาล ราชทัณฑ์ รวมไปถึงคู่ความ และประชาชน และสื่อออนไลน์ขอความคิดเห็น โดยตั้งคำถามว่า “ใน 1 ปี จากนี้ไป อยากให้ศาลยุติธรรมทำอะไรบ้าง” เพื่อนำข้อมูลที่ได้รับมาประมวลผลก่อนกำหนดเป็นนโยบายของศาลยุติธรรม
  • มิติใหม่ที่ไม่เคยเกิดขึ้นในการกำหนดนโยบายของประธานศาลฎีกามาก่อน
  • เมื่อส่งคำขอข้อมูลออกไป พบว่า มีบุคคลจำนวนมากส่งคำตอบเข้ามา โดยแบ่งเป็นข้อมูลจากบุคลากรในกระบวนการยุติธรรมประมาณ 60% และเป็นความเห็นจากประชาชนทั่วไป 40% พบว่า
    สิ่งแรกที่ต้องการมากที่สุดคือ ขอให้ศาลยุติธรรมพิจารณาเรื่องกระบวนการปล่อยตัวชั่วคราว และต้องการให้ศาลพิจารณาการปล่อยตัวชั่วคราวได้โดยไม่มีวันหยุดราชการ จึงเห็นว่า เป็นเรื่องที่เหมาะสม เพราะ “ความยุติธรรมต้องไม่มีวันหยุดราชการ” จึงเริ่มดำเนินการนโยบายแรกคือ “การพิจารณาปล่อยตัวชั่วคราวโดยไม่มีวันหยุด”
    • ในด้านนี้ บุคลากรภายในศาลยุติธรรมส่วนใหญ่ และประชาชนส่วนมาก มีความคิดเห็นสอดคล้องเช่นกัน โดยเห็นว่าควรให้ความสำคัญกับเรื่องการเพิ่มมาตรฐานการดูแลผู้ต้องหา จำเลย เหยื่อ และพยาน โดยผู้ตอบแบบสอบถามหลายคนเห็นว่า ปัจจุบันมาตรการที่มีอยู่มุ่งเน้นไปที่ผู้ต้องหาและจำเลยมากกว่าเหยื่อหรือพยาน นอกจากนี้ มีผู้ตอบแบบสอบถามรวม ๔๑ คน แบ่งเป็นบุคลากรภายใน ๒๒ คน และประชาชนทั่วไป ๑๙ คน กล่าวถึงการปล่อยตัวชั่วคราวว่า ควรให้มีการสร้างมาตรฐานหลักเกณฑ์กลางถึงทั้งมูลค่า วิธีพิจารณาหลักประกัน และแนวปฏิบัติในการอนุญาต และเปิดเผยหลักเกณฑ์ดังกล่าวเพื่อให้ประชาชนทราบ และในจำนวนนี้ประชาชนถึง ๑๑ คน เสนอแนวคิดให้เพิ่มการขอประกันตัวในวันหยุด
  • กลายเป็นที่มาหนึ่งในห้านโยบายของประธานศาลฎีกา ในข้อที่ ๑

ข้อ ๑. ยกระดับการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของผู้ต้องหาและจำเลย โดยคำนึงถึงเหยื่ออาชญากรรมและความสงบสุขของสังคม

๑.๑ กำหนดมาตรการในการขอปล่อยชั่วคราวที่มีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพความสะดวกรวดเร็ว และการลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงสิทธิที่จะได้รับการปล่อยชั่วคราว

๑.๒ กำหนดวิธีปฏิบัติที่เหมาะสมต่อผู้ต้องหา จำเลยเหยื่ออาชญากรรม ผู้เสียหายตลอดจนกลุ่มผู้เปราะบางในสังคม ทุกขั้นตอนของกระบวนการทางศาล

๑.๓ เพิ่มบทบาทเชิงรุกในการให้ข้อมูลแก่ประชาชนเกี่ยวกับขั้นตอนการดำเนินคดีในศาลและให้ประชาชนได้รับรู้ถึงสิทธิของตนตามกฎหมาย

 

๒.การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของผู้ต้องหาหรือจำเลย คือสิ่งจำเป็นและควรทำอย่างไร

  1. ผู้ต้องหาหรือจำเลยคือบุคคลหน่วยหนึ่งในสังคม >> สิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานที่กฎหมายรับรอง >> คุกมีไว้เฉพาะบุคคลที่สมควรต้องขัง >> ยกระดับและลดการแออัด >> คำนึงถึงเหยื่ออาชญากรรมและสังคม >> การปล่อยชั่วคราว >>การใช้โทษทางเลือกอื่นแทนโทษจำคุก

 

๓.ทำไมท่านถึงให้ความสำคัญต่อการปฏิบัติหน้าที่ที่เหมาะสมต่อผู้ต้องหา จำเลย เหยื่ออาชญากรรม
และผู้เปราะบางในสังคม

  1. ผู้ต้องหา จำเลย เหยื่ออาชญากรรม ผู้เปราะบางในสังคม >> ข้อจำกัดในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมขึ้นพื้นฐาน >>เผยแพร่ข้อมูลขั้นตอนการดำเนินคดีและสิทธิตามกฎหมาย>>รวมไปถึงการปรับปรุงอาคารสถานที่ให้มีความเหมาะสม
  • การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานไม่ใช่เรื่องใหม่ ศาลยุติธรรมมุ่งเน้นในประเด็นเรื่องนี้อยู่แล้ว
    แต่สิ่งที่จะทำตามนโยบายในข้อนี้คือการทำให้ดียิ่งขึ้น – จึงใช้คำว่า “ยกระดับ” ซึ่งเห็นได้จาก
    • การกำหนดนโยบายที่คำนึงถึงเหยื่ออาชญากรรมและสังคมอย่างชัดเจน
    • การสร้างวิธีปฏิบัติที่เหมาะสมต่อทุกฝ่าย โดยเฉพาะกลุ่มผู้เปราะบางในสังคม เช่น  คนยากจน คนพิการ หรือผู้ด้อยโอกาสในสังคม ซึ่งรวมไปถึงคนต่างด้าวที่ต้องพึงพิงกระบวนการยุติธรรมของไทยด้วย
    • วิธีปฏิบัติในที่นี้ยังรวมไปถึงการปรับปรุงอาคารสถานที่ให้มีความเหมาะสม ทั้งห้องพักพยาน
      การปรับปรุงห้องควบคุม การปรับปรุงอาคารให้เหมาะสมกับผู้พิการ เป็นต้นโทรศัพท์ศาลไหนโทรติดยาก ก็อาจจะต้องปรับปรุงให้ดีขึ้น
  • สิ่งที่ประชาชนเรียกร้องจำนวนมากในเรื่องการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ คือการยกระดับมาตรฐานการปล่อยตัวชั่วคราว ซึ่งจำเป็นต้องวางมาตรฐานที่มีความชัดเจน ทั้งมาตรฐานการพิจารณาคำร้องคำขอ มาตรฐานหลักประกัน เป็นต้น 
    • กลไกการปล่อยตัวชั่วคราวเช่นนี้จะต้องไม่มีความแตกต่างระหว่างคนรวยหรือคนจน
    • มาตรฐานที่สร้างขึ้นจะต้องมีการเผยแพร่ให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจ
    • การให้บริการปล่อยชั่วคราวนอกเวลาทำการ ซึ่งรวมทั้งวันหยุดราชการ อาจต้องมีการจัดเวรกันให้เหมาะสม
  • บทบาทเชิงรุกในการเผยแพร่ข้อมูลทั้งขั้นตอนการดำเนินคดีและสิทธิของประชาชนตามกฎหมาย
    มีส่วนสำคัญที่จะทำให้ประชาชนเข้าใจสิทธิของตนเองได้ง่ายขึ้น ลดปัญหาการเกิดข้อพิพาทโดยไม่จำเป็น และโดยทางอ้อมยังเป็นการช่วยลดภาระงานติดต่อราชการศาลเพื่อการสอบถามข้อมูลโดยไม่จำเป็นได้ด้วย
  • ปรับเปลี่ยนวิธีคิดของบุคลากรทั้งหมดของศาลและกระบวนการยุติธรรม โดยมีประเด็นที่เป็นหัวใจคือ “ตราบใดที่ยังไม่สามารถพิสูจน์ได่ว่าบุคคลใดมีความผิด ต้องได้รับความคุ้มครองอย่างเต็มที่ เว้นแต่มีแนวโน้มว่าบุคคลนี้จะเป็นอันตรายต่อสาธารณะ” และหากมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว ก็ต้องมีแนวทางการลงโทษที่เหมาะสมกับความผิด เป็นทางเลือกอื่นซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นการจำคุกเสมอไป ซึ่งการจะทำเช่นนั้นได้ จะยังต้องผ่านการทำงานร่วมกันอย่างมากในกระบวนการของฝ่ายนิติบัญญัติทั้งหมด ซึ่งก็หวังว่าจะเกิดขึ้น เพื่อให้ศาลได้เป็นที่พึ่งของทุกคนได้อย่างแท้จริง
  • มาตรการทางเลือกอื่นแทนโทษจำคุก เช่น มาตรการรอการกำหนดโทษ มาตรการทำงานบริการสังคมหรือสาธารณประโยชน์แทนการกักขังแทนค่าปรับ อย่างไรก็ตามต้องมุ่งคุ้มครองและเยียวยาผู้เสียหาย หรือเหยื่อจากอาญชญากรรมในขณะเดียวกัน ในขณะนี้ ได้ให้คณะทำงานศึกษาหาแนวทางการคุ้มครองและเยียวกลุ่มบุคคคลดังกล่าวภายใต้กฎหมายแล้ว

 

๔.บทบาทในเชิงรุกของศาลยุติธรรมที่ท่านคิดว่าเป็นเรื่องที่สำคัญและควรปฏิบัติแก่ประชาชนควรเป็นไปในทิศทางไหน

  1. ศาลยุติธรรมเป็นองค์กรของรัฐ >> อำนวยความยุติธรรม >>ปรับตัวเพื่อตอบสนองต่อบริบทของสังคมและเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป >> เข้าถึงประชาชนมากขึ้น >>เพิ่มบทบาทเชิงรุก >>
    ให้ความรู้แก่ประชาชน >>นำเทคโนโลยีมาประยุกต์ให้เกิดประโยชน์สูงสุด>> การตระหนักรู้ของผู้ปฏิบัติงาน>> โครงการคำร้องใบเดียว >> คณะทำงานศึกษาการให้ความคุ้มครองเหยื่ออาชญากรรม
  • อำนาจตุลาการ คืออำนาจพิจารณาพิพากษาคดีให้เป็นไปตามกฎหมายที่อำนาจนิติบัญญัติได้ตราขึ้นไว้ อำนาจอธิปไตยนี้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกฉบับบัญญัติว่าเป็นของประชาชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจผ่านองค์กรต่าง ๆ ศาลจึงต้องดำเนินการตามกฎหมายและในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์ เพราะทรงเป็นประมุขของประเทศ และถือคติว่าเป็นผู้ประทานความยุติธรรมมาแต่โบราณกาล
  • นับจนถึงปัจจุบัน ศาลยุติธรรมได้สถาปนาขึ้นเป็นเวลา ๑๓๘ ปีแล้ว ถือได้ว่าเป็นองค์กรที่เก่าแก่ที่สุดองค์กรหนึ่ง การที่ศาลยติธรรมดำรงอยู่ได้ก็เพราะการปรับตัวให้เท่าทันต่อบริบทของสังคมและเศรษฐกิจที่เปลี่นแปลงไปตามยุคสมัยและกาลเวลา แต่ยังคงยึดมั่นต่อหน้าที่ของศาลยุติธรรมไว้ไม่เปลี่ยนแปลง
  • ทำให้สาธารณะเข้าถึงศาลได้”-ศาลยุติธรรมต้องเข้าถึงประชาชนเริ่มต้นด้วยการปรับเปลี่ยน
    “วิธีคิด” ทั้งของบุคลากรศาลและวิธีคิดที่ประชาชนรู้สึกต่อศาลเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าใจกระบวนการทำงานเพิ่มบทบาทเชิงรุกของศาล ศาลจะเป็นผู้ที่เอื้อมมือเข้าไปช่วยเหลือให้โอกาสแก่บุคคลที่ไม่อาจจะเข้าถึงความยุติธรมที่ศาลได้ รวมทั้งการลดการขัดแย้ง แก้ไขข้อพิพาทให้ยุติไป โดยที่บุคคลเหล่านั้นไม่จำเป็นต้องเดินทางมาถึงศาล ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความสงบสุขในสังคม และนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในกระบวนพิจารณาเพื่อช่วยเหลือการทำงานของผู้พิพากษาและเจ้าหน้าที่ รวมถึงลดภาระของคู่ความที่จะต้องเดินทางมาศาล  กับทั้งตอบสนองต่อสภาวการณ์ในปัจจุบัน โดยศาลยุติธรรมตระหนักถึงข้อจำกัดการเข้าถึงเทคโนโลยีต่างๆ จึงได้ดำเนินโครงการเผยแพร่ความรู้ วิธีการใช้เทคโนโลยีดังกล่าวแก่คู่ความหรือทนายความที่สนใจ
  • เพิ่มบทบาทเชิงรุกในการให้ข้อมูลแก่ประชาชนเกี่ยวกับขั้นตอนการดำเนินคดีในศาลและให้ประชาชนได้รับรู้ถึงสิทธิของตนตามกฎหมาย
  • โครงการคำร้องใบเดียวเป็นตัวอย่างโครงการที่แสดงให้เห็นถึงการดำเนินการเชิงรุกของศาลยุติธรรมด้วยการ “เอาคนออกจากคุก” ที่ผู้พิพากษาหลายคนเข้าไปสัมภาษณ์ผู้ต้องขังในคุกเพื่อหาคำตอบว่า คนเหล่านี้ทำความผิดไม่ร้ายแรงเหตุใดจึงต้องมาติดคุก เมื่อผู้พิพากษาได้เข้าไปเห็นปัญหาเอง ก็เกิดโครงการเชิงรุกขึ้นมา ถามผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาคดีว่าต้องการประกันตัวหรือไม่ ถ้าต้องการประกันตัวก็สามารถทำได้ด้วยกระบวนการง่ายๆที่ไม่ต้องใช้เงินเป็นหลักประกัน เพียงแต่ยื่นคำร้องขอประกันตัว แล้วกรอกแบบฟอร์มที่ทางศาลได้ออกแบบ “หลักประเมินความเสี่ยง” ซึ่งหากพบว่ามีความเสี่ยงที่จะหลบหนีน้อย และไม่เป็นอันตรายต่อสาธารณะ จะได้ประกันตัวแน่นอน
  • ศาลไทยเป็นประเทศแรกของโลกที่มีกระบวนการเช่นนี้ คือ ศาลเป็นผู้ที่เอาผู้ต้องขังออกจากคุกด้วยตัวเอง

 

๕.ในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโควิด-๑๙ ศาลยุติธรรมได้มีส่วนช่วยอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนในด้านใดบ้าง

  1. การให้บริการและสร้างความปลอดภัยให้แก่ประชาชนและผู้ปฏิบัติหน้าที่>> มาตรการลดความแออัดจากเบาไปหาหนัก >> ควบคู่กับการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ >> การแพร่ระบาดลดลง>>จัดทำโครงการ“ศาลยุติธรรมห่วงใย ฝ่าภัยโควิด” เพื่อช่วยเหลือผู้มีอรรถคดีที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-๑๙
  • ศาลยุติธรรมเป็นองค์กรหนึ่งของรัฐที่ไม่สามารถหยุดการดำเนินการได้ การทำงานของศาลโดยเฉพาะในศาลชั้นต้นเกี่ยวข้องกับบุคคลจำนวนมากที่เข้าร่วมรับฟังการพิจารณาคดีในห้องพิจารณาเดียวกัน ประกอบกับลักษณะหน้าที่ของผู้พิพากษาที่มิได้จำกัดเพียงการนั่งพิจารณาคดี แต่รวมตลอดถึงการพิจารณาคำสั่งคำร้องต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องของผู้มาติดต่อราชการศาลย่อมทำให้เกิดการรวมตัวของกลุ่มคนจำนวนมาก ส่งผลให้เกิดความเสี่ยงที่ทำให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสดังกล่าวได้โดยง่าย
  • ปัญหาที่สำคัญคือภายใต้สถานการณ์ดังกล่าวศาลจะดำเนินการอย่างไรที่จะทำให้ศาลยังคงให้บริการประชาชนต่อไปได้ โดยสร้างความปลอดภัยให้กับผู้พิพากษา เจ้าหน้าที่ คู่ความ พยาน และบุคลากรในศาลในเวลาเดียวกัน
    • ลดความแออัดของประชาชนที่มาใช้บริการที่ศาลและสร้างสุขอนามัยที่ดีของบุคลากรในศาลและบุคคลที่ติดต่อราชการของศาล
      • คำแนะนำของประธานศาลฎีกาประกอบกับประกาศคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม เรื่องการบริหารจัดการคดีภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ กำหนดมาตรการด้านการบริหารจัดการคดีภายใต้สถานการณ์ดังกล่าว รวมทั้งการบริหารบุคลากรและการจัดการอาคารสถานที่ด้วย โดยให้ดุลยพินิจผู้รับผิดชอบราชการศาลเลื่อนคดีทุกคดีตั้งแต่วันที่ ๒๔ มีนาคม ๒๕๖๓ ถึง ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๖๓ ออกไป พร้อมกำหนดวันนัดพิจารณาใหม่และแจ้งให้คู่ความในคดีทราบ โดยเปิดโอกาสให้คู่ความขอวันนัดพิจารณาได้ เว้นแต่คดีอาญาที่จำเลยต้องขังหรือคดีแพ่งบางประเภท เช่น คดีจัดการมรดกที่คู่ความประสงค์จะให้ศาลดำเนินการต่อไป ให้ดำเนินกระบวนพิจารณาไปได้โดยคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ที่เกี่ยวข้องเป็นสำคัญ และผู้รับผิดชอบราชการศาลสามารถมอบหมายให้ทำงาน ณ ที่พักอาศัยได้ นอกจากนั้นได้สนับสนุนให้มีการใช้เทคโนโลยีเพื่อลดการเดินทางมาศาลของประชาชน
    • ออกระเบียบราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม ว่าด้วยการอ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลฎีกาในคดีอาญาที่ศาลฎีกา โดยจัดให้มีการถ่ายทอดภาพและเสียงในลักษณะการประชุมทางจอภาพ พ.ศ.๒๕๖๓
    • ศาลยุติธรรมตระหนักดีว่าการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ เป็นผลให้ประชาชนจำนวนมากได้รับความเดือดร้อนทางเศรษฐกิจ ขาดรายได้ ไม่อาจประกอบอาชีพการงานเลี้ยงตนและครอบครัวได้ตามปกติ เกิดภาระหนี้สิน หากบุคคลเหล่านี้เป็นผู้ที่มีอรรถคดีในศาล ไม่ว่าจะเป็นโจทก์หรือจำเลย ย่อมเสมือนมีความทุกข์ซ้ำซ้อนทับถม
    • ดำริให้ดำเนินโครงการลดภาระแก่คู่ความและผู้เกี่ยวข้องในการดำเนินคดีในศาลยุติธรรม และแสวงหามาตรการทางกฎหมายที่เหมาะสมมาใช้เพื่อประโยชน์แก่คู่ความในสภาวปัจจุบัน ภายใต้โครงการชื่อ “ศาลยุติธรรมห่วงใย ฝ่าภัยโควิด”ประกอบด้วยโครงการย่อย
      ๔ โครงการ กล่าวคือ
      • โครงการที่ 1 การงดหรือลดภาระค่าใช้จ่ายแก่ของคู่ความในการดำเนินคดี : มุ่งเน้นในการงดหรือลดภาระค่าใช้จ่ายบางประเภทของคู่ความในการดำเนินคดีทั้งคดีแพ่งและคดีอาญาในจำนวนที่เหมาะสม เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของคู่ความในการดำเนินคดีและการใช้บรการของศาล ตลอดจนนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้เพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการของศาล เช่น ลดค่าใช้จ่ายในการส่งคำคู่ความคดีบางประเภท คืนค่าขึ้นศาลเป็นกรณีพิเศษเมื่อพิพากษาตามยอม ส่งสำเนาคำพิพากษาคดีฟรีถึงบ้าน นัดเหลื่อมเวลาเพื่อลดการใช้เวลาในศาล บริการเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียว (One Stop Servicce) / Drive Thru รวมถึงส่งเสริมการช้เทคโนโลยีแทนการเดินทางมาศาล เป็นต้น
      • โครงการที่ 2 การพัฒนาระบบการไกล่เกลี่ยออนไลน์ในศาลยุติธรรม : มุ่งส่งเสริมให้คู่ความร่วมหาวิธีการระงับข้อพิพาทที่เกิดขึ้นที่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องสามารถยอมรับภายใต้เงื่อนไขที่สามารถปฏิบัติได้จริงในสถานการณ์และวิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้น โดยผสมผสานการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเป็นสื่อกลางในการไกล่เกลี่ยที่งจะทำให้ประชาชนและคู่ความสามารถเข้าร่วมไกล่เกลี่ยได้โดยเกิดภาระและกระทบต่อการดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพปกติให้น้อยที่สุด แต่สามารถยังผลของประสิทธิภาพในการระงับข้อพิพาทไว้เช่นเดิม
      • โครงการที่ 3 การกำหนดวงเงินประกันผู้ต้องหาหรือจำเลยกรณีปล่อยชั่วคราวโดยมีประกันและหลักประกัน ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน : มุ่งคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของผู้ต้องหาหรือจำเลยลดการคุมขังที่ไม่จำเป็น เช่น ลดการคุมขังที่ไม่จำเป็นด้วยการส่งเสริมให้ศาลใช้มาตรการใช้ดุลพินิจรอการกำหนดโทษหรือมาตรการการทำงานบริการสังคมแทนค่าปรับ
      • โครงการที่ 4 การพัฒนาระบบการให้ความช่วยเหลือและอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชนด้านแรงงาน : มุ่งเน้นการให้บริการประชาชนในเชิงรุกเกี่ยวกับสิทธิตามกฎหมายแรงงาน เช่น โครงการ “ศาลแรงงานเคลื่อนที่” โครงการ “คลินิกศาลแรงงานร่วมใจ วิถีใหม่-สู้ภัยโควิด” ให้คำปรึกษาด้านแรงงานแก่ประชาชนทั่วประเทศ และบริการ Labour Court : Online For You เพื่อลดการเดินทางของคู่ความ รวมทั้งการให้ข้อมูลประชาชนเพื่อให้เข้าใจสิทธิและสวัสดิการของตนตามกฎหมายแรงงานที่กำหนดไว้ เพื่อนำมาใช้ในศาลแรงงานทั่วประเทศ เพื่อช่วยเหลือประชาชนและคู่ความที่ขาดรายได้หรือถูกเลิกจ้างจากสถานการณ์ในปัจจุบัน

 

๖.อยากให้ท่านฝากถึงประชาชน เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นและศรัทธาในการเข้าถึงการอำนวยความยุติธรรม

  1. กระบวนการยุติธรรมดำรงอยู่กับความเชื่อมั่นของประชาชน >>แนวความคิดและการทำงานภายใต้กรอบของกฎหมาย>>การดำเนินกระบวนพิจารณาพิพากษาคดีตามกฎหมายที่ประกันความเชื่อมั่นและโปร่งใส่>> ระบบตรวจสอบการทำคำพิพากษาของศาลในลำดับที่สูงกว่า >>กระบวนการทำคำพิพากษาของศาลฎีกา >> ระบบการตรวสอบภายในองค์กรที่เข้มแข็ง >> จัดทำโครงการศูนย์การเรียนรู้ ณ ศาลฎีกา
  • เนื่องจากอำนาจหน้าที่ของศาลเกี่ยวกับการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีของประชาชนจึงย่อมกระทบกระเทือนต่อสิทธิ เสรีภาพ และทรัพย์สินของประชาชน อำนาจของศาลจึงต้องมีขอบเขต
    ต้องปฏิบัติหน้าที่ภายในบทบัญญัติแห่งกฎหมายเท่านั้น เพื่อให้เป็นสถาบันที่ประสิทธิ์ประสาทความยุติธรรมแก่ประชาชนพลเมือง สถาบันศาลยุติธรรมจึงมีความสำคัญในการปกครองและสร้างความผาสุกของประชาชน รัฐธรรมนูญให้ศาลหรือผู้พิพากษามีความเป็นอิสระเพื่อไม่ให้ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลใด ๆจะได้ดำเนินงานให้บรรลุผลสมความมุ่งหมาย
  • “ทำให้สาธารณะเข้าถึงศาลได้” ถือเป็นความพยายามที่จะปรับเปลี่ยน “วิธีคิด” ทั้งของบุคลากรศาลและวิธีคิดที่ประชาชนรู้สึกต่อศาล ซึ่งประธานศาลฎีกา เปิดเผยระหว่างการสนทนาพิเศษครั้งนี้ โดยระบุว่า กำลังให้คณะทำงานของสำนักงานศาลยุติธรรม เตรียมการ “เปิดศาลฎีกา” ให้กลายเป็นแหล่งเรียนรู้ของประชาชน ให้พื้นที่ของศาลเป็นสถานที่เรียนรู้ประวัติศาสตร์กฎหมายของประเทศไทย ประวัติของศาลฎีกา และสามารถเรียนรู้ได้ว่ากว่าจะเป็นคำตัดสินของศาลในแต่ละคดี มีการทำงานที่ละเอียดรอบคอบ ตรวจสอบความถูกต้องจริงหรือไม่ ซึ่งแนวคิดนี้ มาจากความต้องการให้ “ศาลยุติธรรม” เป็นที่พึ่งของประชาชนได้อย่างแท้จริง จะช่วยเปลี่ยนความรู้สึกของประชาชนที่เคยมีต่อศาล จากพื้นที่ลึกลับ แตะต้องไม่ได้ ให้กลายเป็นพื้นที่ที่ประชาชนเข้าถึงได้ง่ายซึ่งจะนำไปสู่ความไว้ใจศาล และเมื่อศาลฏีกาเปิดได้แล้ว ในขั้นต่อไป ก็เชื่อว่าจะสามารถเปิดศาลอุทธรณ์ได้เช่นกัน
  • การนั่งพิจารณาคดีครบองค์คณะ-คดีที่เข้าสู่ศาลมีขนาดความสำคัญที่แตกต่างกัน การให้ผู้พิพากษามากกว่าหนึ่งคนร่วมกันทำการพิจารณาพิพากษาคดีที่มีความสำคัญกว่า หรือมีอัตราโทษสูง จึงมีความจำเป็น ทั้งนี้เพื่อให้ผู้พิพากษาเหล่านั้นได้ร่วมกันประชุมปรึกษาหารืออันจะทำให้คดีได้รับการพินิจพิเคราะห์โดยละเอียดรอบคอบและถูกต้องยิ่งขึ้น มิใช่ใช้อำนาจตามอำเภอใจแต่เพียงผู้เดียว
  • ศาลอุทธรณ์และศาลฎีกา-การที่ระบบกฎหมายให้มีศาลอุทธรณ์และศาลฎีกา ก็เพื่อเปิดโอกาสให้คู่ความได้มีสิทธิขอให้ศาลสูง ซึ่งประกอบไปด้วยผู้พิพากษาที่มีความรู้และประสบการณ์มากกว่าได้ทำการพิจารณาพิพากษาคดีอีกชันหนึ่ง เป็นการประกันความยุติธรรมได้ดียิ่งขึ้น
  • “เปิดศาล” ให้เป็นแหล่งเรียนรู้กฎหมาย ประชาชนเข้าถึงง่าย ตรวจสอบได้ทุกคดี
    • โครงการ “ศูนย์การเรียนรู้ทางด้านกฎหมายและกระบวนการทางศาล ณ ศาลฎีกา”เพื่อเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ เผยแพร่ประวัติศาสตร์กฎหมายและกระบวนการทางศาล รวมถึงถ่ายทอดองค์ความรู้ และกระบวนการทำงานของศาลยุติธรรมให้แก่ประชาชนและสังคมทราบ ทั้งนี้ เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจถึงสิทธิของตนตามกฎหมาย ตลอดจนเสริมสร้างภาพลักษณ์ของศาลยุติธรรม และสร้างทัศนคติที่ดีอันจะนำไปสู่ความร่วมมือ และสัมพันธภาพที่ดีระหว่างศาลยุติธรรมกับประชาชน

“ที่ผ่านมา ศาลฎีกา ถูกมองว่าเป็นพื้นที่ลึกลับ เข้าถึงยาก เป็นดินแดนมิคสัญญี ผมจะเปิดให้คนภายนอกเข้าชมการทำงานของศาลฎีกา จะเชิญชวนผู้มีวิชาชีพทางกฎหมาย เชิญชวนนิสิตนักศึกษา นักเรียนเข้ามาดูการทำงานของศาลฎีกา ว่ามีระบบงานทำงานอย่างไร มีระบบการทำคำพิพากษาอย่างไร ทำให้เห็นว่าสิ่งที่เหล่านี้ไม่ใช่ความลับ มีกระบวนการทำงานที่โปร่งใส และตรวจสอบได้ ทำให้ศาลฎีกาเป็นแหล่งเรียนรู้ของนักกฎหมาย และประชาชนทั่วไป ... วันเด็ก ทำเนียบรัฐบาลยังเปิดให้เด็กเข้าชมได้ ทำไมศาลยุติธรรมจะเปิดไม่ได้”


image รูปภาพ
image
image